อุปสงค์และอุปทานของทองคำ

1516

      ด้วยเหตุที่ทรัพยากรที่มีค่าบนโลกมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นของสิ่งใดที่มีอรรถประโยชน์สูงและความต้องการมากราคาจึงสูงตาม เนื่องจากจะมีอยู่น้อย ผลิตได้ยาก หรือมีข้อจำกัดอื่นๆเช่นการหามา สิ่งนี้เองที่เป็นปัจจัยในการ กำหนดอุปสงค์ (Demand) หรือราคาและความต้องการของผู้ซื้อ เมื่อมีความต้องการซื้อขึ้น จึงส่งผลให้เกิดความต้องการขายตามมา โดยความต้องการขายนั้นจะมีมากขึ้นเมื่อสินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น หรือสามารถสร้างกำไรได้สูง ตัวกำไรและความสามรถในการผลิตหรือการได้มาจึงเป็นปัจจัยในการ กำหนดอุปทาน (Supply) หรือราคาขายรวมทั้งจำนวนในการผลิต โดยราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความพอใจในการซื้อขายกันเรียกว่า ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price)

     ราคาทองคำ ถูกกำหนดด้วยอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกเช่นกัน ทองคำเป็นโลหะที่มีมูลค่าในตัวสูง เนื่องจากมีคุณสมบัติ งดงามมันวาว, คงทน, สามารถนำกลับมาใช้ได้ และหายาก ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จึงส่งผลให้ทองคำมีมูลค่าสูงและหายาก จึงส่งผลให้ทองคำกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และใช้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญที่สุด ซึ่งเราสามารถแบ่งอุปสงค์และอุปทานของทองคำได้ดังนี้

Gold-Demand

อุปสงค์ของทองคำ

  • เครื่องประดับ ถือเป็นกลุ่มอุปสงค์ทองคำหลักในตลาดโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศกลุ่มตะวันออกลางและเอเชีย โดยเฉพาะประเทศอินเดีย และจีน นอกจากทองคำจะถูกใช้เป็นเครื่องประดับแล้ว ยังนิยมให้เป็นของขวัญ ในโอกาสสำคัญ เช่น เทศกาลตรุษจีน หรือการแต่งงาน และเทศกาลอื่นๆในหลายๆประเทศอีกมากมาย
  • อุตสาหกรรมการผลิตและการแพทย์ อุปสงค์ทองคำในกลุ่มนี้มีสัดส่วนรองลงมาจากกลุ่มเครื่องประดับ แต่มีแนวโน้มของความต้องการในกลุ่มนี้มากขึ้นตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและน่าจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการแพทย์
  • การลงทุน ในอดีตจะหมายถึงทองคำและเหรียญทองคำ แต่ในปัจจุบันยังรวมไปถึงลักษณะการลงทุนแบบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กองทุนรวม รวมทั้งการลงทุนต่างๆที่มีทองคำเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
Gold-Supply

อุปทานของทองคำ

  • ผลผลิตจากเหมืองแร่ผลผลิตทองคำที่มาจากเหมืองแร่เป็นปัจจัยที่มีผลต่ออุปทานทองคำมากที่สุดของอุปทานทองคำทั้งหมดในตลาดโลก ซึ่งประเทศแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีการผลิตทองคำมากที่สุดในโลก และรองลงมาคือประเทศสหรัฐฯ
  • เศษทองคำเก่าที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ มาจากทองเก่าที่แปรรูปแล้ว และนำมาสกัดใหม่ในรูปของทองคำแท่ง มีสัดส่วนรองจากผลผลิตใหม่จากเหมืองแร่ ซึ่งจะมีสัดส่วนสูงขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา หรือหลังจากราคาทองปรับตัวขึ้น
  • การขายทองคำจากหน่วยงานภาครัฐ ปัจจุบันธนาคารกลางและองค์กรระหว่างประเทศ ถือครองทองคำในรูปของเงินทุนสำรองในปริมาณที่มากพอที่จะส่งผลกระทบกับราคาทองคำในตลาด หากมีการขายออกหรือซื้อเพิ่มก็จะส่งผลต่อราคาทองคำในตลาดโลกด้วย
  • การขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงของผู้ผลิต บริษัทเหมืองทองสามารถทำการขายทองคำล่วงหน้าในตลาดได้ เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงด้านรายได้จากการผันผวนของราคาทองคำในอนาคต

บทส่งท้าย

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการลงทุนในหลักทรัพย์(หุ้น) และตราสารอนุพันธ์ มีประสบการณ์แนะนำการลงทุนร่วม 10 ปี เคยดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์ปัจจัยและแนวโน้มทองคำ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้แนะนำการลงทุน