วิธีเปิดบัญชีเทรด XM

0
XM-Forex-Broker-Banner
XM-Forex-Broker-Banner

XM.com เป็นโบรกเกอร์ Forex ที่นักลงทุนในตลาด Forex ในไทยรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจาก XM มีความน่าเชื่อถือ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำ ระบบฝากถอนสะดวกรวดเร็ว เรทฝากถอนที่ดี การบริการลูกค้าที่ดีเยี่ยม โปรโมชั่นน่าสนใจ (โดยเฉพาะโบนัส 100%) และมีสินค้าให้เทรดมากมายรวมถึงสกุลเงินดิจิตอล นอกจากนี้โบรกเกอร์ XM ยังได้รับรางวัลการันตีในด้านต่างๆมากมาย ส่งผลให้โบรกเกอร์ XM ติดอันดับต้นๆของเว็บจัดอัดดับโบรคเกอร์ฟอเร็กซ์ที่ดีที่สุด (Best Forex Broker)

สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดบัญชีเทรดกับ XM จะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูณ์ขึ้นไป เนื่องด้วยกฏหมายทางด้านการเงินของประเทศไซปรัส ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ XM กำหนดไว้

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มเปิดบัญชีเทรดกับ XM กันเลย

XM_Register_1.1

เปิดหน้าการลงทะเบียน ระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลในการเปิดบัญชีเทรดกับ XM อย่าลืมกรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ และต้องกรอกข้อมูลจริง เนื่องจากต้องใช้ในการยืนยันตัวตน ฝากเงิน และที่สำคัญที่สุด การถอนเงิน ครับ

XM_Register_1.2

ประเภทของแพลทฟอร์มซื้อขาย ถูกแบ่งออกเป็น MetaTrader 4 (MT4) และ MetaTrader 5 (MT5) แน่นอนว่า MT5 เป็นเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า รวมถึงมี Pending Order อย่าง Buy Stop Limit และ Sell Stop Limit เพิ่มเติมเข้ามา และยังมีปฏิทินข่าวเศรษฐกิจให้ดู แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังคงนิยมใช้ MT4 มากกว่า MT5 รายละเอียดเพิ่มเติม…

ในส่วนของประเภทของบัญชี XM มีประเภทบัญชีมากมายให้เลือกใช้ ซึ่งนักเทรดมักจะเลือกใช้ บัญชี Standard (1 lot = 100,000) และ บัญชี Micro (1 lot = 1,000) เป็นหลัก ประเภทบัญชีทั้งหมดของ XM หลังจากนั้นกดปุ่ม “ไปยังขั้นตอนที่ 2” เพื่อสมัครบัญชีจริงต่อ

XM_Register_2.1

ข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้สมัครบัญชีนี้ จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเป้นข้อมูลจริง โดยเฉพาะที่อยู่ จะต้องตรงกับเอกสารที่ใช้ยื่นในการยืนยันตัวตน ในการสมัครใช่บัญชีเทรดของ XM และหากเป็นชาวอเมริกัน จะไม่สามารถเปิดบัญชีได้ จึงต้องตอบว่าไม่ใช่เท่านั้นในช่องนี้

XM_Register_2.2

เงินสกุลหลักของบัญชี จะเป็นสกุลเงินที่แสดงโดยเฉพาะใน Application ในการเทรดอย่าง MT4 และ MT5 ซึ่งหากไม่ใช่เงินบาท เราจะต้องทำการแลกเงินไปโดยอัตโนมัติ หลังจากเราทำการโอนเงินเข้าบัญชีเทรด

Leverage (เลเวอเลจ) เป็นเสมือนตัวทวีที่ใช้ในการเทรด หากใช้เลเวอเลจที่สูง นั้นหมายถึงจะทำให้เปิด Position ในการซื้อขายได้เยอะ ซึ่งแน่นอนแลกมาด้วยความเสี่ยงในการล้างพอร์ทด้วยเช่นกัน ทำความเข้าใจกับ Leverage เพิ่มเติม…

โบนัสสำหรับบัญชี จะต้องเลือก “ใช่” เท่านั้น จึงจะสามารถรับโบนัสต่างๆ โดยเฉพาะโบนัสเงินฝากซึ่งมีโบนัสสูงสุดถึง 100% และไม่สามารถเปลี่ยนหลังจากสมัครบัญชีเทรดกับ XM เสร็จแล้วได้ในส่วนนี้

XM_Register_2.3

กรอกความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการเทรด ถัดมาใส่รหัสผ่าน 2 ครั้งเพื่อยืนยืนรหัสผ่าน และกดปุ่ม “เปิดบัญชีจริง”

XM_Register_3.1

ระบบจะแจ้งว่า ยืนยันการเปิดบัญชี และให้เรายืนยันตัวตนผ่านทางอีเมลที่เราได้ลงทะเบียนเมื่อซักครู่ หลังจากนั้นทำการล็อคอิน และอัพโหลดเอกสารยืนยันตัวตน โดยปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง บัญชีเทรดของ XM ก็จะสามารถเข้าใช้งานได้ ทีนี้ก็เตรียมโหลด MT4/MT5 เพื่อเริ่มการเทรดได้เลยครับ

XM.com โบรก Forex ที่ดีที่สุด

0
ATTACHMENT DETAILS รีวิวโบรกเกอร์-XM-โบรกเกอร์-FOREX-ที่ดีที่สุด
ATTACHMENT DETAILS รีวิวโบรกเกอร์-XM-โบรกเกอร์-FOREX-ที่ดีที่สุด

ความน่าเชื่อถือของ XM

     โบรกเกอร์ XM เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2009 ให้บริการนักลงทุนกว่า 196 ประเทศทั่วโลก การันตีความสำเร็จด้วยลูกค้ามากกว่า 3,500,000 คน ได้รับใบอนุญาตจาก CySEC, IFSC, FCA, ASIC และ DFSA อีกทั้ง XM ยังได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี

XM-Trustworthy

     XM ยังเป็นโบรกเกอร์เพียงไม่กี่เจ้าที่รับประกันว่าไม่มีการ requotes หรือปฏิเสธคำสั่ง และเงินทุนของลูกค้าก็มีการแยกบัญชีอย่างชัดเจน โดยจะโอนเงินส่วนนี้ไปยังบัญชีธนาคารของลูกค้าที่บริษัทแยกไว้

โปรโมชั่นของ XM

     XM ถือว่าเป็นโบรกเกอร์ที่ทำการตลาดเชิงรุก โดยโปรโมชั่นที่โดดเด่นที่ทำให้ XM เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ “โบนัส $30” ในการเปิดบัญชีครั้งแรก ซึ่งโบนัสดังกล่าวสามารถใช้ซื้อขายได้จริง และไม่มีเงื่อนไขแอบแฝง

     โบนัสฝากเงินสูงสุดถึง 100% ในช่วงเทศกาลสำคัญๆ เช่น ปีใหม่ หรือสงกรานต์ รวมถึงโบนัส 50% (สูงสุด $500) และโบนัส 20% (สูงสุด $4,500) อีกทั้งโบนัส XM Loyalty Program หรือ Lot Rebate ยิ่งเทรดมากยิ่งรับคืนมาก สูงสุด $5.33 ต่อการซื้อขาย 1 Lot เมื่อสามารถขึ้นระดับ ELITE

     รวมถึงโปรโมชั่นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ใช้ VPS ฟรี เมื่อมียอดในบัญชีมากกว่า $500 และ XM ยังมีโปรแกรมแนะนำเพื่อน ยิ่งแนะนำมากยิ่งรับโบนัสเทรดมาก รวมถึงโปรโมชั่นในส่วนของ Introduction Broker (IB) ทาง XM ก็มีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดรวมถึงการแข่งขันชิงรางวัลอย่างต่อเนื่อง

ค่าธรรมเนียมซื้อขายของ XM

     แม้ว่า XM จะไม่ได้ขึ้นชื่อค่า Spread ที่ถูกที่สุด เมื่อเทียบกับ Forex Broker อย่าง Exness ก็จริง แต่ในด้านของค่าธรรมเนียมในการฝากและถอนของ XM ก็ถือว่ามีส่วนต่างน้อยมาก เมื่อเทียบกับอีกหลายๆโบรกเกอร์ รวมถึง Swap ในการถือสถานะข้ามคืน ก็ถือว่าทาง XM มีเรทที่ดีกว่าอีกหลายๆโบรก

     อีกทั้ง XM ยังมีบัญชีหลากหลายประเภทให้เลือกซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็น Micro, Standard, XM Swap Free, XM Ultra Low และบัญชี Shares ซึ่งใช้ในการซื้อขายหุ้น ซึ่งหากเลือกประเภทบัญชีที่เหมาะสมกับกลยุทธของการลงทุน ก็จะทำให้ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายกับ XM ไม่ต่างจากโบรกเกอร์อื่นเท่าใดนัก

ระบบฝากถอนของ XM

     ระบบการฝากเงินของ XM เข้าไวมาก เรียกได้ว่าเกือบจะ Realtime เลยทีเดียว และในส่วนของการถอนจะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ซึ่งถือว่ารวดเร็วมากเมื่อเทียบกับอีกหลายๆโบรกเกอร์ แถมยังไม่มีค่าธรรมเนียมในการฝากถอน

     ช่องทางการฝากเงินของ XM ถูกออกแบบมาให้รองรับการโอนเงินของนักลงทุนไทยเป็นอย่างมาก รองรับการโอนทั้ง Internet Banking และ Mobile Banking ของธนาคารหลักในไทย 6 ธนาคาร ได้แก่ KBANK, BBL, SCB, KTB ,BAY และ TMB นอกจากนี้ยังครอบคลุมการฝากถอนผ่านบัตรเครดิตอย่าง VISA และ MasterCard อีกด้วย

การบริการลูกค้าของ XM

     XM มีฝ่ายบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม มีบริการ Live Chat ทั้งหมดกว่า 18 ภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย อีกทั้งยังสามารถติดต่อทาง E-mail : [email protected] จากที่เคยใช้บริการ พบว่าฝ่ายบริการลูกค้าของทาง XM สามารถตอบข้อซักถามได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน จึงไม่แปลกใจเลยที่ XM จะได้รับรางวัล ผู้ให้บริการลูกค้าดีเด่นระดับโลก ในปี 2020

ใบอนุญาตของ XM

ประเภทบัญชีซื้อขายของ XM

บัญชี Micro ของ XM

Contract Size1 Lot = 1,000
Max Leverage1:888
Minimum Deposit$5
Commission
Negative balance protection

บัญชี Standard ของ XM

Contract Size1 Lot = 100,000
Max Leverage1:888
Minimum Deposit$5
Commission
Negative balance protection

บัญชี XM Swap Free ของ XM

Contract SizeStandard 1 Lot = 100,000
Micro 1 Lot = 1,000
Max Leverage1:888
Minimum Deposit$5
Commission
Negative balance protection

บัญชี XM Ultra Low ของ XM

Contract SizeStandard 1 Lot = 100,000
Micro 1 Lot = 1,000
Max Leverage1:888
Minimum Deposit$50
Commission
Negative balance protection

บัญชี Shares ของ XM

Contract Size1 Share
Max Leverage
Minimum Deposit$10,000
Commission
Negative balance protection

ผลิตภัณฑ์ที่ XM มีให้ซื้อขาย

Forex Trading

  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลหลัก (Major Currency)
    • ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD), ยูโร (EUR), ปอนด์ (GBP), หยวน (เหรินหมินปี้), จีน (CNY/CNH), เยน (JPY), ดอลลาร์แคนาดา (CAD), สวิสฟรังก์ (CHF), ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) และดอลล่าร์นิวซีแลนด์ (NZD)
  • เงินสกุลรอง (Minor Currency)
    • การจับคู่ระหว่างสกุลเงินที่ถูกซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลาย ยกเว้นดอลล่าร์สหรัฐ (USD)

โลหะมีค่า (Precious Metals)

พลังงาน (Energies)

  • น้ำมัน WTI ของสหรัฐอเมริกา
  • น้ำมัน BRENT ของฝั่งยุโรป
  • ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities)

  • โกโก้ (Cocoa), กาแฟ (Coffee), ข้าวโพด (Corn), คอตตอน (Cotton No. 2), ทองแดง (High Grade Copper), ถัวเหลือง (Soybeans), น้ำตาล (Sugar No. 11) และ ข้าวสาลี (Wheat)

หุ้น (Shares)

  • ครอบคลุม 3 ตลาดหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี

ดัชนี (Indices)

  • ดัชนีราคาหุ้น (Equity Indices)
    • DJIA (US30), NASDAQ 100 (US100), S&P 500 (US500), ASX200 (Australia200), Nikkei 225 (JP225), HSI (HK50), FTSE 100 (UK100), DAX (GER30) และ CAC 40 (FRA40)
  • ดัชนีเงินสด CFD (Cash Indices CFDs)
    • AUS200Cash, EU50Cash, FRA40Cash, GER30Cash, HK50Cash, IT40Cash, JP225Cash, NETH25Cash, SPAIN35Cash, SWI20Cash, UK100Cash, US100Cash, US30Cash และ US500Cash
  • ดัชนีฟิวเจอร์ CFDs (Futures Indies CFDs)
    • EU50, FRA40, GER30, JP225, SWI20, UK100, US100, US30, US500 และ USDX
  • ดัชนีการจ่ายเงินปันผล (Index Dividends)
    • EU50Cash, FRA40Cash, IT40Cash, US30Cash และ US500Cash

CFDs ของหุ้น (Stock CFDs)

  • สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, อิตาลี, กรีซ, โปรตุเกส, สวีเดน, ฟินแลนด์, นอร์เวย์, ออสเตรีย, รัซเซีย, บราซิล และแคนาดา

แพลทฟอร์มที่ใช้เทรดกับ XM

     โบรกเกอร์ XM ได้เตรียมช่องทางการซื้อขายไว้อย่างครบครับ ด้วยโปรแกรม MT4 และ MT5 ผ่านทางเครื่อง PC ,MAC, Mobile, Tablet อีกทั้งยังสามารถเทรดบนเว็บไซต์ผ่านทาง MT4 WebTrader ทำให้นักลงทุนไม่พลาดโอกาสในทุกการลงทุน

การสมัครเป็น IB กับ XM เพื่อหารายได้เสริม

     นอกจากการเทรดแล้ว นักลงทุนยังสามารถหารายได้เสริมง่ายๆ ด้วยการชวนเพื่อนของคุณมาเปิดบัญชีกับ XM โดยส่วนแบ่งหลักๆที่คุณได้รับจะมาจากจำนวนสัญญา (Lot) ที่เพื่อนของคุณเปิด เรียกว่าการเป็น IB (introducing broker) หรือการทำ Forex Affiliate Program

     นั่นหมายถึงหากคุณสามารถหาลูกค้า ผ่านสื่อต่างๆที่คุณชื่นชอบ หรือต้องการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Youtube และ Google หรือจะสร้างเว็บไซต์ของคุณเองเพื่อติด Banner เพื่อทำการตลาด ก็สามารถเลือกทำการตลาดในแบบที่คุณต้องการได้แล้ว

     XM ยังมีโปรโมชั่นสำหรับ IB ด้วยแคมเปญอย่าง XM IB Loyalty Program ซึ่งเมื่อทำระดับถึงขั้น VIP จะได้รับค่าตอบแทนมากสุด $25 : 1 Lot ซึ่งสูงสุดกว่าขั้นเริ่มต้นอย่างขั้น Bronze ซึ่งจ่ายมากสุดเพียง 8$ : 1 Lot ( Bronze > Silver > Gold > Platinum > VIP )

     ที่สำคัญ XM ยังมีเครื่องมือการทำการตลาดให้อย่างครบครัน และออกแบบมาให้นำไปใช้ง่าย ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าการทำ IB จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือที่ทาง XM เตรียมไว้ให้ โดยเฉพาะ Link ที่จะพาลูกค้าที่คุณแนะนำมา ไปยังหน้ากรอกใบสมัครเพื่อ เปิดบัญชีกับ XM เลย

บทสรุปรีวิวโบรกเกอร์ XM น่าเทรดหรือไม่ ?

     โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ กระทิงดุ สัญชาติไซปรัส อย่าง XM ถือว่าเข้ามาทำการตลาดในไทยตั้งแต่ยุคที่การซื้อขาย Forex เริ่มแพร่หลายขึ้นในยุคแรกๆ ทำให้ไม่แปลกที่จะมีนักลงทุนมากมาย เคยเปิดบัญชีซื้อขายกับ XM Group มาก่อน

     จุดเด่นของ XM นั้น อาจกล่าวได้ว่าจริงๆแล้ว คือการมีข้อเสียน้อยกว่า Forex Broker อื่นๆ เนื่องจากระบบต่างๆถูกออกแบบมาได้อย่างเหมาะสม และยังมีระบบซัพพอทร์ที่คอยตอบข้อสงสัยของนักลงทุนได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเรทในการฝากถอนก็ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก แต่โดยส่วนตัวผมชอบ XM ในเรื่องของโปรโมชั่น เนื่องจากมีโบนัสฝากมากสุด 100% ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง

Spread Swap และ Commission

0
Spread-Swap-Commission

     ต้นทุนในการเทรด Forex หลักๆจะมีอยู่ 3 ส่วนคือ Spread, Swap และ Commission ซึ่งต้นทุนดังกล่าวนั้น เป็นค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมที่ทางโบรกเกอร์ Forex เรียกเก็บจากผู้ซื้อขาย Forex นั่นเอง โดยต้นทุนดังกล่าวเป็นสิ่งที่นักลงทุนในตลาด Forex ไม่ควรมองข้าม โดยควรจะศึกษาและทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มซื้อขายจริงในตลาด Forex

     โดยแต่ละโบรกเกอร์ที่เปิดให้บริการซื้อขาย Forex หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า Broker Forex จะคิดค่าบริการในส่วนนี้แตกต่างกัน ผู้ลงทุนซื้อขายในตลาด Forex จึงควรทำความเข้าใจ เพื่อที่จะสามารถเลือก Broker ที่ใช้เทรด Forex ได้อย่างเหมาะสมกับกลยุทธ์ในการเทรดของผู้ลงทุนแต่ละราย หากนักลงทุนเลือก Broker Forex ได้อย่างเหมาะสม จะเป็นการลดต้นทุนในการเทรดให้ต่ำลงได้ด้วย

Spread ในตลาด Forex คืออะไร ?

     Spread คือ ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Ask) ของแต่ละคู่เงิน (Base currency) รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแต่ละ Forex Broker หากนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงส่วนต่างของราคาทองคำแท่งหน้าร้านทอง ที่มักจะมีส่วนต่างจำนวน 100 บาท

     ซึ่งส่วนต่างนี้เอง คือส่วนที่ผู้ให้บริการสภาพคล่อง ซึ่งในที่นี้คือ Forex Broker กำหนดส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายนี้ขึ้นมา ส่วนหนึ่งก็เพื่อคิดค่าบริการแก่ผู้ซื้อขาย และอีกส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงในขณะที่ทาง Forex Broker หาผู้ซื้อขายในสัญญาตรงข้ามกันเพื่อหักล้างสถานะที่ทาง Forex Broker รับมาจากเทรดเดอร์ ซึ่งส่งคำสั่งซื้อขายเข้าไปยัง Broker นั่นเอง

     โดยแต่ละ Forex Broker จะมี Spread ที่ต่างกันอยู่พอสมควรในแต่ละคู่เงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆของแต่ละ Forex Broker โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ราคามีความผันผวนสูงกว่าช่วงเวลาปกติ แต่ละ Broker ก็จะมีการปรับเพิ่ม Spread ตามความรุนแรงของความผันผวนแตกต่างกันด้วย ซึ่งความผันผวนดังกล่าว อาจเกิดจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ หรือปัจจัยที่มีผลกระทบรุนแรงกับราคาเข้ามากระทบ เช่น เกิดสงคราม หรือโรคระบาดอย่างเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นต้น

     ดังนั้นผู้ลงทุนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา (Forex Exchange) ควรจะพิจารณาเลือก Forex Broker ที่มีค่า Spread ต่ำๆ โดยเฉพาะในคู่เงิน หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผู้ลงทุนมีการซื้อขายบ่อยๆ เพื่อลดต้นทุนการซื้อขายในแต่ละรายการ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำไรในการซื้อขายได้ทางอ้อมอีกด้วย

Swap ในตลาด Forex คืออะไร ?

     Swap คือ เงินค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเมื่อผู้ลงทุนถือสถานะข้ามคืน โดยจะคิดจากผลต่างของอัตราดอกเบี้ย (Overnight Interest) หรือจะเรียกว่าเป็นค่าธรรมเนียมในการ Rollover ของสัญญาซื้อขาย Forex ก็ได้

     แต่ละคู่เงินจะมีการคิด Swap ที่ต่างกัน ผู้ลงทุนจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามสกุลเงินหรือผลิตภัณฑ์ที่ขาย และรับดอกเบี้ยจากสกุลเงินที่ซื้อ อาจกล่าวได้ว่า Swap เป็นเหมือนส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยของแต่ละคู่เงินที่ซื้อขายในตลาด Forex ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลให้ค่า Swap ในแต่ละคู่เงินมีค่าที่แตกต่างกัน โดยที่ทั้งฝั่งซื้อ (Long) และฝั่งขาย (Short) ก็จะถูกคิดว่า Swap ในทุกๆคืนที่มีการถือสถานะข้ามวัน

     ค่า Swap จะถูกคิดในช่วงเวลา 0.00 น. ตามเวลา Server ของแต่ละ Forex Broker โดยจะมีการยกค่า Swap ของวันเสาร์และอาทิตย์ มาคิดในคืนวันพุธ ทำให้ค่า Swap วันพุธจะมากกว่าปกติถึง 3 เท่า

     และยังมีบัญชีบางประเภทในตลาด Forex เช่น Islamic account (บัญชีของผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ที่แม้จะบอกว่าไม่มีการคิดค่า Swap เนื่องจากผิดตามหลักของผู้นับถือศาสนาอิสลาม แต่จะมีเงื่อนไขบางอย่างแอบแฝงอยู่เสมอ เช่น ห้ามถือสัญญาเกิน 1 สัปดาห์ หากถือเกิน 1 สัปดาห์ ดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะถูกนำมาคิดทบอยู่ดี

Commission ในตลาด Forex คืออะไร ?

     ค่า Commission ในตลาด Forex ส่วนมากราจะพบในบัญชีประเภท Zero Spread หรือที่เรียกว่า ECN ซึ่งลักษณะเด่นของบัญชีซื้อขาย Forex ประเภทนี้คือจะมี Spread ที่ต่ำกว่าบัญชี Standard ซึ่งแม้จะมีการอ้างว่า Spread เทียบเท่ากับ 0 แต่แท้ที่จริงแล้วแค่เพียงใกล้เคียงกับ 0 ซึ่งการที่จะได้ Spread ที่แคบลงนั้น ผู้ลงทุนในตลาด Forex จะต้องแลกกับการจ่ายค่า Commission แทนค่า Spread

     โดยทาง Forex Broker จะอ้างว่าค่า Commission ดังกล่าวเป็นค่าบริการในการเข้าถึงเครือข่ายในการส่งคำสั่ง ที่มีการรวบรวมผู้ให้สภาพคล่องในตลาด Forex หลายๆเจ้าไว้ เพื่อเลือกผู้ให้บริการสภาพคล่องที่ให้ราคาที่ดีที่สุดทั้งซื้อ (Bid) และขาย (Ask) ในขณะนั้นๆ แต่จะต้องแลกกับการถูกเก็บค่า Commission หรือค่าบริการแทน

     ซึ่งค่า Commission ดังกล่าว มักจะถูกเก็บประมาณ 6$ ในคู่เงินหลัก (Major Currency Pair) และประมาณ 8$ ในคู่เงินรอง (Minor Currency Pair) ต่อการซื้อขาย 1 Standard Lot

สรุปค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย Forex

     จะเห็นได้ว่าต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมในการเทรด Forex นั้นหลักๆจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆดังกล่าวไว้ข้างต้นคือ Spread, Swap และ Commission ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละประเภทบัญชี ดังนั้นผู้ลงทุนในตลาด Forex จึงจำเป็นต้องศึกษาเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละบัญชีให้ถี่ถ้วน ก่อนเริ่มซื้อขายจริงให้เหมาะสมกับกลยุทธในการเทรด เช่น

  • หากต้องการซื้อขาย Forex ในช่วงเวลาสั้นๆ อาจเลือกซื้อขายในบัญชีประเภท Zero Spread เพราะการที่ Spread ในการซื้อขายบาง จะทำให้สามารถปิดสถานะได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
  • หากผู้ลงทุนต้องการถือสถานะข้ามวันเพียง 1-2 วัน ก็อาจเลือกใช้ Forex Broker ที่มีบัญชี Free Swap ตามระยะเวลาที่เราต้องการถือสถานะข้าม เพราะหากเลยจากช่วงที่ Free Swap แล้ว มักจะมีการคิดค่า Swap ในแต่ละวันที่เยอะขึ้นกว่าบัญชีปกติ
  • และหากผู้ลงทุนต้องการเปิดสถานะนานๆ หรือ Run Trend ก็ควรใช้บัญชี Standard แต่เลือก Forex Broker ที่มีการคิดค่า Swap ในคู่เงินที่ต้องการซื้อขายที่เป็นบวก หรือคิด Swap น้อยกว่า Forex Broker อื่นๆ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัดส่วนการลงทุน

0
investment-proportion-factors

     เมื่อพูดถึงการลงทุน คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง ซึ่งการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์นั้น จะมีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาของแต่ละสินทรัพย์ต่างกันด้วย และจะต้องเข้าใจก่อนว่าสินทรัพย์ในการลงทุน ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  • สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Real Assets) เช่น ทองคำ บ้าน ที่ดิน รถยนต์ โรงงาน เป็นต้น ซึ่งผู้ลงทุนจะได้ค่าตอบแทนเป็นค่าเช่า หรือค่าบริการในการใช้สินทรัพย์เหล่านั้นเป็นค่าตอบแทน
  • สินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset) เช่น เงินฝาก พันธบัตร หุ้นสามัญ เป็นต้น ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล (Dividend) หรือกำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain)

     ในชีวิตจริง เราสามารถถือครองสินทรัพย์ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพื่ออยู่อาศัย เพื่ออำนวยความสะดวก รวมถึงเพื่อการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง เราจึงจำเป็นต้องตัดสินใจว่าควรจะถือครองสินทรัพย์อะไรบ้าง และในสัดส่วนเท่าใด

     เราจึงจำเป็นต้องจัดสรรเงินลงทุน (Asset allocation) ที่มีอยู่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาจวัดเป็นตัวเลขได้หากเป็นปริมาณเงิน หรืออาจเป็นความพอใจจากการถือครองทรัพย์สินบางประเภท เช่น วัตถุโบราณ หรืองานฝีมือ แม้จะไม่สามารถวัดเป็นปริมาณเงินที่ชัดเจนได้ แต่สินทรัพย์ทุกอย่างก็ยังมีมูลค่าในตัวเองอยู่เสมอ

ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อสัดส่วนการลงทุน

อายุ (Age)

     เนื่องจากอายุมีความสัมพันธ์ต่อรายได้ รวมถึงความต้องการของชีวิตในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน เงินทุนจึงจำเป็นต้องถูกแบ่งสัดส่วนเพื่อถือครองสินทรัพย์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิตด้วย เช่น

  • วัยทำงาน อาจเลือกซื้อซื้อรถยนต์ การกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน หรือการสะสมทรัพย์สินอื่นๆเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต
  • วัยกลางคน เป็นช่วงที่มีความมั่นคงจากรายได้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาจะเลือกลงทุนโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ และมุ่งเน้นการลงทุนที่สามารถรักษาเงินต้น หรือลดความเสี่ยงลง
  • วัยหลังเกษียณ เป็นช่วงวัยนี้มีแนวโน้มที่จะรับความเสี่ยงได้ลดลง เนื่องจากแนวโน้มของรายได้ จึงมักเน้นลงทุนโดยใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง รวมถึงการถือกรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ

เป้าหมายการลงทุน (Investment Objective)

     หากต้องการตอบตอนแทนสูง จำเป็นต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผู้ลงทุนแต่ละรายจึงควรวางเป้าหมายในการลงทุน ก่อนเลือกสินทรัพย์ในการลงทุน

  • ระดับการยอมรับความเสี่ยง (Risk Tolerance) ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก สถานะทางการเงิน รายได้ ภาระค่าใช้จ่าย หรือสถานภาพ เช่น ผู้ที่มีครอบครัวจะรับความเสี่ยงได้น้อยกว่าผู้ลงทุนที่มีสถานะภาพโสด
  • ผลตอบแทนที่คาดหวัง (Return Objective) จะต้องสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยง และเป้าหมายการลงทุน รวมถึงยังต้องมีการกระจายความเสี่ยงในระดับที่พอเหมาะ เพื่อลดความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง

ข้อจำกัดการลงทุน (Investment Constraint)

     ผู้ลงทุนแต่ละคนย่อมมีข้อจำกัดแตกต่างกัน ซึ่งข้อจำกัดการลงทุนนี้ อาจเกิดจากสถานะความเป็นอยู่ ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อน รวมถึงประสบการณ์ของผู้ลงทุนเอง สามารถแบ่งได้ ดังนี้

  • สภาพคล่อง (Liquidity) ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เงินสดของแต่ละคน ผู้ที่มีแนวโน้มอาจต้องใช้เงินสดยามฉุกเฉิน จึงควรแบ่งสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง มากกว่านักลงทุนกลุ่มอื่น
  • ระยะเวลาในการลงทุน (Investment Time Horizon) โดยปกติการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีระยะเวลานาน มักจะถูกชดเชยด้วยผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่ต้องพิจารณาช่วงเวลาที่ต้องใช้เงินของแต่ละคนควบคู่ด้วย
  • ข้อจำกัดด้านภาษี (Tax Concern) ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากเป้าหมายของการลงุทน คือการสร้างผลตอบแทนหลังหักภาษีแล้วให้สูงที่สุด ภาษีจึงเป็นปัจจัยที่นักลงทุนทุกคนไม่ควรมองข้าม
  • ความพอใจส่วนบุคคล (Unique Need) เกิดจากการกำหนดทางเลือกการลงทุน และสินทรัพย์ที่ต้องการหรือความไม่ต้องการลงทุนไว้อย่างชัดเจน สัดส่วนการลงทุนจึงถูกกำหนดด้วยปัจจัยนี้ด้วย

บทส่งท้าย

     จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น จึงส่งผลให้การจัดสรรเงินลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ลงทุนแต่ละราย และส่งผลต่อเนื่องถึงสัดส่วนของสินทรัพย์ที่นักลงทุนแต่ละคนถือครองอยู่ มีความแตกต่างกันไป