การปรับพอร์ททองคำของสถาบันการเงินรายใหญ่นั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยทางด้านอุปสงค์และอุปทานทองคำของสถาบันการเงินระดับประเทศ ซึ่งหมายถึงการปรับสัดส่วนทองคำหนุนหลังของแต่ละประเทศเป็นหลัก(ซึ่งมีการเคลื่อนไหวไม่บ่อยนัก) โดยประเทศที่มีทองคำหนุนหลังมากสุดคือประเทศสหรัฐ เยอรมนี อิตาลีและฝรั่งเศสตามลำดับ รวมถึงกองทุนETFทองคำรายใหญ่ของโลกอย่างเช่น กองทุน SPDR Gold Shares ETF (ทรัพย์สินรวมประมาณ34,000ล้านดอลลาร์) หรือ iShares Gold Trust ETF (ทรัพย์สินรวมประมาณ8,000ล้านดอลลาร์) และ ETFS Physical Swiss Gold Shares ETF (ทรัพย์สินรวมประมาณ1พันล้านดอลลาร์)

ทองคำถูกใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ

     ในส่วนของทองคำที่เป็นทุนสำรองของแต่ละประเทศนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เมื่อเศรษฐกิจเติบโตได้ดีมักจะมีการเพิ่มสัดส่วนทองคำหนุนหลังของประเทศนั้นมากขึ้น และช่วงที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจมักจะมีการนำทองคำหนุนหลังที่ถือครองอยู่ออกมาขายเพื่อชำระหนี้บางส่วน

     และในส่วนของกองทุน ETF ทองคำ ซึ่งมีลักษณะเป็น Passive Fund คือเป็นกองทุนที่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง และการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครองทองคำจะเกิดจากการเปลี่ยนแสดงปริมาณเงินของกองทุนจากการซื้อหรือขายของนักลงทุนที่นำเงินมาลงทุนกับกองทุนETFทองคำ

ประเทศที่ถือครองทองคำสูงสุดในปี 2016 โดย สภาทองคำโลก (WGC)

แหล่งข้อมูลจาก :: https://th.wikipedia.org/wiki/ทองคำสำรอง

สรุปการปรับพอร์ททองคำของสถาบันการเงิน

     จึงสามารถสรุปได้ว่าเมื่อประเทต่างๆ หรือกองทุน ETF ทองคำรายใหญ่มีขายทองคำออกมา จะส่งผลให้ความต้องการขายทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดปรับตัวลดลง และหากกลับกันมีการแนวโน้มต้องการถือครองทองคำมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ความต้องการซื้อทองคำในตลาดเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้น