ทุกๆช่วงใกล้สิ้นปีเหล่าบรรดาผู้มีเงินได้และเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี มักจะเริ่มวางแผนลดหย่อนภาษี และแน่นอนว่าการซื้อกองทุน Long Term Equity Fund (LTF) และ Retirement Mutual Fund (RMF) มักถูกจัดไว้เป็นตัวเลือกแรกๆในการวางแผนลดหย่อนภาษีของคนส่วนใหญ่ วันนี้แอดมินจะมาอธิบายให้ฟังถึงรายละเอียดและเงื่อนไขของกองทุนทั้ง 2 ประเภท กองทุนแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด และที่สำคัญจะเป็นอย่างไรหากผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนผิดเงื่อนไขในการขอลดหย่อนภาษี เราไปเริ่มกันที่ความแตกต่างของ LTF และ RMF กันเลยดีกว่า
ขั้นตอนที่แนะนำในการเลือกซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี
- อันดับแรกต้องทราบก่อนว่า เราจำเป็นต้องซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนจริงๆหรือไม่ หากลดหย่อนได้จะต้องซื้อกองทุนจำนวนเท่าไหร่จึงจะได้ลดหย่อนเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้างที่สามารถลดหย่อนได้เพิ่มเติม เนื่องจากในกรณีที่เราไม่ต้องเสียภาษี หรือในส่วนที่เราซื้อเกินกว่าที่จะขอลดหย่อนได้ จะเท่ากับว่าเราซื้อกองทุนส่วนนั้นเพื่อการลงทุนเพียงอย่างเดียว
เว็บไซต์ช่วยคำนวนภาษี
https://www.kasikornasset.com/Pages/CalTax.html
- ระยะเวลาในการลงทุน เนื่องจากในการลงทุนใน RMF สามารถไถ่ถอนได้หลังจากผู้ถือครองอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ในส่วนของ LTF นั้นมีเงื่อนไขในการถือครองเพียงแค่ 7 ปีปฏิทิน
- ความสม่ำเสมอของเงินในการลงทุน เนื่องจาก LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง หากต้องการลดหย่อนปีไหนก็ลงทุนปีนั้น ในขณะที่ RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรือไม่เกินปีเว้นปีในกรณีที่ปีนั้นไม่มีเงินได้
- ความสามารถในการรับความเสี่ยง เนื่องจาก LTF เน้นนโยบายการลงทุนในหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 65% ของ NAV หรือ Net Asset Value ของกองทุน จึงมีความเสี่ยงโดยเฉลี่ยค่อนข้างสูง ในขณะที่่ RMF มีจุดประสงค์เพื่อออมเงินระยะยาวเพื่อใช้ในยามเกษียณ จึงมีความหลากหลายของนโยบายลงทุนตามเป้าหมายของผู้ลงทุน (ทุกกองทุนจะมีระดับความเสี่ยงแจ้ง โดย 1 คือระดับเสี่ยงน้อยสุด และ 8 คือระดับเสี่ยงมากสุด)
เว็บไซต์ช่วยประเมินความเสี่ยงของผู้ลงทุน
https://www.set.or.th/education/th/online_classroom/risk.html
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- การซื้อหน่วยลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ควรเริ่มวางแผนตั้งแต่ช่วงต้นปี เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย
- การซื้อหน่วยลงทุน LTF & RMF ควรวิเคราะห์ด้วยว่าช่วงใดที่ราคาหน่วยลงทุนในกองทุนที่เราสนใจอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้ได้ราคาต้นทุนที่ดี แลมีโอกาสได้กำไรจากการขายเพิ่มขึ้นในช่วงที่ครบกำหนด
- เราสามารถซื้อหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนดได้ (เช่นทุกเดือน) ซึ่งจะเรียกว่าการลงทุนแบบ Dollar Cost Average (DCA) ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราซื้อหน่วยลงทุนด้วยราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปี ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ที่ยังไม่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมากนัก
- ด้วยเหตุที่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน LTF และ RMF ต่างกัน ผู้ลงทุนจึงสามารถใช้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการซื้อกองทุนได้มากสุดถึง 1,000,000 บาทต่อปี (จาก LTF 500,000 บาท และ RMF 500,000 บาท)
หากผิดเงื่อนในการลดหย่อน จะส่งผลอย่างไร
- ในกรณีที่ขาย LTF ก่อนครบ 7 ปี ปฏิทิน จะต้องทำเรื่องคืนภาษีที่ได้รับการยกเว้น หากล่าช้าจะมีดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของจำนวนภาษีที่ได้รับยกเว้น นับตั้งแต่เดือนเมษายนของปีที่ยื่นภาษี และกำไรที่ได้จากการขายคืน(ในยอดที่ผิดเงื่อนไข) จะถือเป็นรายได้ ซึ่งจะต้องนำไปคำนวนภาษีในปีนั้นๆ
- ในกรณีที่เป็น RMF หากไม่ซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี และยังมีงินได้ หรือขายคือก่อนผู้ถืออายุครับ 55 ปีบริบูรณ์ หรือลงทุนไม่ครบ 5 ปีเต็ม จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
- ยังลงทุนไม่เกิน 5 ปีแล้วขาย จะต้องคืนภาษีที่เคยได้รับการยกเว้น และกำไรที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุนจะถือเป็นรายได้ ซึ่งจะต้องถูกนำไปคำนวนภาษี
- ลงทุนเกิน 5 ปีแล้วขาย จะต้องคืนภาษีที่ได้รบการยกเว้น 5 ปีย้อนหลัง รวมทั้งต้องจ่ายค่าปรับ 1.5% ต่อเดือน โดยคิดตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีถัดไปที่ผิดเงื่อนไข และกำไรที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุนจะถือเป็นรายได้ ซึ่งจะต้องถูกนำไปคำนวนภาษี
กองทุน LTF จะสามารถซื้อได้ถึงปลายปี 2562 เป็นปีสุดท้าย