เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average หรือ MA) เป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถช่วยให้การวิเคราะห์แนวโน้มราคามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการทำให้ข้อมูลราคาเรียบง่ายขึ้นเพื่อลดความผันผวนของข้อมูลในช่วงสั้นๆ ทำให้สามารถมองเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งช่วยลดความ “bias” หรืออคติจากราคาที่มีการสวิงตัวรุนแรงทั้งขึ้นและลงในระยะสั้นๆ ได้
ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย
Simple Moving Average (SMA):
- เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาตลาดในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้น้ำหนักเท่ากันในทุกจุดข้อมูล ทำให้ SMA มีความราบเรียบมากขึ้นและส่งสัญญาณช้ากว่า แต่มีข้อดีคือสามารถลดการเกิดสัญญาณหลอกได้มากกว่า
- SMA เหมาะสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มที่มีความยาวช่วงมาก เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มในระยะยาวหรือเพื่อหาความเสถียรของแนวโน้ม
Exponential Moving Average (EMA):
- เป็นค่าเฉลี่ยที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลราคาล่าสุดมากกว่าช่วงเวลาก่อนหน้า ทำให้ EMA มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่า SMA ส่งผลให้ EMA สามารถส่งสัญญาณได้รวดเร็วกว่า แต่ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดสัญญาณหลอกมากขึ้น
- EMA เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วต่อแนวโน้มใหม่ที่เกิดขึ้น
Weighted Moving Average (WMA):
- WMA ให้น้ำหนักกับราคาที่อยู่ในช่วงเวลาล่าสุดมากกว่า โดยราคาที่อยู่ใกล้ช่วงปัจจุบันจะได้รับน้ำหนักมากกว่าราคาที่อยู่ในช่วงเวลาก่อนหน้า ซึ่งทำให้ WMA มีความสามารถในการติดตามแนวโน้มราคาที่รวดเร็วกว่า SMA แต่มีความราบเรียบน้อยกว่า
- WMA เหมาะสำหรับการใช้งานในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวราคาอย่างรวดเร็ว หรือเมื่อผู้ลงทุนต้องการเน้นการวิเคราะห์แนวโน้มที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ
Hull Moving Average (HMA):
- HMA เป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่มีการคำนวณที่ซับซ้อนกว่าค่าเฉลี่ยแบบอื่นๆ โดยใช้สูตรการคำนวณที่ลดความล่าช้า (lag) และความผันผวนลง ทำให้สามารถติดตามแนวโน้มราคาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำกว่า EMA และ WMA
- HMA เหมาะสำหรับการใช้งานในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็ว และเมื่อผู้ลงทุนต้องการติดตามแนวโน้มที่เกิดขึ้นในระยะสั้นถึงกลาง
เส้นค่าเฉลี่ยที่นิยมใช้ (EMA & SMA)
กราฟด้านบนแสดงการเปรียบเทียบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันของราคาทองคำ ซึ่งแสดงให้เห็นการเคลื่อนตัวของเส้น EMA (สีแดง) ซึ่งให้น้ำหนักกับราคา ณ ปัจจุบันมากกว่า เส้นจึงมีการเคลื่อนตัวตอบสนองต่อราคา ณ ปัจจุบันไวกว่าเส้น SMA (สีน้ำเงิน) ซึ่งมีความราบเรียบกว่า แต่ในบทความนี้ในกราฟลำดับถัดไปจะขอแสดงแต่เพียงเส้น EMA เนื่องจากเป็นที่นิยมกว่า และโดยส่วนตัวก็มองว่ามีประสิทธิภาพในการคาดการณ์แนวโน้มกว่าด้วย
การตั้งค่าช่วงระยะเวลา (Period) ของเส้นค่าเฉลี่ย
สำหรับ Period (ช่วงระยะเวลา) ของ MA ที่จะนำมาวิเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเซ็ตช่วงเวลาดังกล่าวเป็นค่ามาตรฐาน คือ 5(ค่าเฉลี่ยสัปดาห์) 10(ค่าเฉลี่ยครึ่งเดือน) 25(ค่าเฉลี่ยเดือน) 75(ค่าเฉลี่ยไตรมาส) และ 200(ค่าเฉลี่ยปี) ซึ่งค่าดังกล่าวเมื่อเราเปลี่ยน Timeframe จากชั่วโมงเป็นวัน หรือวันเป็นสัปดาห์ หน่วยของช่วงเวลาก็จะเปลี่ยนไปทั้งหมด เช่นเดิมเราดูที่ 200 วัน เมื่อเราเปลี่ยน Timeframe ของกราฟจากวันเป็นสัปดาห์ ค่าเฉลี่ยดังกล่าวก็จะกลายเป็นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์โดยอัตโนมัติ
ช่วง Peroid ที่ยกตัวอย่าง 5 10 25 75 และ 200 เป็นเพียงค่ามาตรฐาน นักลงทุนอาจจะเลือกใช้แค่ 50 กับ 200 หรือแค่ 5 กับ 10 ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชอบส่วนตัว ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
แต่โดยปกติแล้วนักลงทุนที่ซื้อขายระยะสั้น จะมีแนวโน้มที่จะใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่มี Period โดยเฉลี่ย สั้นกว่านักลงทุนที่ซื้อขายระยะกลางถึงยาว เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยที่มี Period หรือช่วงเวลาสั้นนั้น ค่าจะเปลี่ยนแปลงไวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยที่มี Period ยาวกว่า เนื่องจากมีตัวหารน้อยนั่นเอง เมื่อค่าเปลี่ยนไปไม่มากก็เพียงพอแล้วที่ค่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
การใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยในทางปฏิบัติ
หาจุดตัด (Crossovers)
เมื่อราคากลับมาเป็นแนวโน้มขาขึ้น เส้นค่าเฉลี่ยที่มี Period สั้นกว่าจะตัดเส้นที่มี Period ยาวกว่า เนื่องจากราคาพึ่งปรับตัวขึ้นมา การตัดในลักษณะนี้จะเรียกว่า Golden Cross ซึ่งจะใช้เป็นจุด Buy
เมื่อราคากลับมาเป็นแนวโน้มขาลง เส้นค่าเฉลี่ยที่มี Period สั้นกว่าจะตัดเส้นที่มี Period ยาวกว่า เนื่องจากราคาพึ่งปรับตัวลงไป การตัดในลักษณะนี้เรียกว่า Death Cross ซึ่งจะใช้เป็นจุด Sell
หาแนวรับ (Support) – แนวต้าน (Resistance)
นอกจากเส้น MA จะใช้หาจุดตัดเพื่อคาดการณ์แนวโน้มแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อหาแนวรับ-แนวต้านได้ด้วย โดยเมื่อราคาเคลื่อนตัวขึ้นหรือลง ย่อมต้องเคลื่อนตัวผ่านเส้น MA ใน Period ต่างๆ และในขณะที่ราคาเคลื่อนตัวมาแตะเส้นค่าเฉลี่ยนั้น นั่นแหละคือแนวรับและต้านของราคา ซึ่งจะส่งผลต่อจิตวิทยาของนักลงทุน ยิ่งเป็นเส้น Period ยาวก็จะยิ่งผ่านยาก แต่ถ้าหากผ่านได้ ก็จะเป็นการ Confirm Trend นั้นๆมากขึ้นด้วย
คำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ย
เส้น MA นั้นจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ต่อเมื่อใช้ใน Timeframe ที่เส้น MA มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญมากๆ ยิ่งมีนัยยะสำคัญมากเท่าใดยิ่งสามารถใช้งานได้ดีเท่านั้น (ยิ่งเส้น MA ใดที่เคยเป็นแนวรับ-แนวต้านสำคัญๆใน Timeframe ใดนานๆ จะทำให้เส้น MA นั้นมีนัยยะมากขึ้นตามไปด้วย ณ Timeframeนั้นๆ และโดยปกติเส้น MA ที่มี Peroid ยาวๆมักจะเป็นแนวรับ-แนวต้านที่สำคัญมากกว่าเส้น MA ที่มี Peroid สั้นๆ) ดังนั้นการใช้งานเส้น MA นั้นเราอาจเรียกเรียกได้ว่าเป็นการไล่ตามหาว่าเราควรใช้ MA เท่าไหร่ใน Timeframe ใด ที่จะทำให้ผลการคาดการณ์ออกมามีความน่าเชื่อถือที่สุด
- ควรใช้เส้นค่าเฉลี่ยร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น MACD หรือ RSI เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์
- เลือกใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมกับ Timeframe และสภาพตลาด เนื่องจากตลาดที่มีความผันผวนอาจต้องการเส้น EMA ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ตลาดที่มีความเสถียรอาจเหมาะกับการใช้ SMA
- ระวังการเกิดสัญญาณหลอก โดยเฉพาะเมื่อใช้งาน EMA หรือ WMA ซึ่งไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา
ข้อควรระวังในการใช้เส้นค่าเฉลี่ย
การใช้เส้น MA อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้หากไม่พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่มีการสวิงราคาบ่อยครั้ง นักลงทุนควรใช้เส้น MA ควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจลงทุน
สรุปเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)
เส้น MA นั้นจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ต่อเมื่อใช้ใน Timeframe ที่เส้น MA มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญมากๆ ยิ่งมีนัยยะสำคัญมากเท่าใดยิ่งสามารถใช้งานได้ดีเท่านั้น (ยิ่งเส้น MA ใดที่เคยเป็นแนวรับ-แนวต้านสำคัญๆใน Timeframe ใดนานๆ จะทำให้เส้น MA นั้นมีนัยยะมากขึ้นตามไปด้วย ณ Timeframeนั้นๆ และโดยปกติเส้น MA ที่มี Peroid ยาวๆมักจะเป็นแนวรับ-แนวต้านที่สำคัญมากกว่าเส้น MA ที่มี Peroid สั้นๆ) ดังนั้นการใช้งานเส้น MA นั้นเราอาจเรียกเรียกได้ว่าเป็นการไล่ตามหาว่าเราควรใช้ MA เท่าไหร่ใน Timeframe ใด ที่จะทำให้ผลการคาดการณ์ออกมามีความน่าเชื่อถือที่สุด