HomeEconomicsอุปสงค์ อุปทาน และ จุดดุลยภาพ

    อุปสงค์ อุปทาน และ จุดดุลยภาพ

    Date:

         ราคาและความต้องการของสินค้าหรือบริการทุกอย่าง ล้วนเกิดจากปัจจัยทางด้าน อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของสิ่งนั้นๆทั้งสิ้น โดยที่ราคากลางในตลาดจะเป็นตัวแสดงถึง จุดดุลยภาพ (Equilibrium Point) ของสินค้าหรือบริการนั้นๆ

         จุดดลยภาพ (Equilibrium Point) จึงเป็นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ที่นักลงทุนควรจะทราบก่อนสิ่งอื่นใด เนื่องจากดุลยภาพนั้นเป็นตัวกำหนดทั้งราคา (Price) รวมถึงปริมาณความต้องการ (Volume) ของทุกสิ่งบนโลก สินค้าหรือบริการใดที่มีความต้องการมากขึ้น ราคาย่อมปรับตัวขึ้นและดึงดูดให้มีผู้สนใจขายหรือผลิตมากขึ้น หากสินค้าหรือบริการใดมีความต้องการลดลง ราคาย่อมปรับตัวลดลงและความจูงใจในการผลิตหรือการขายก็จะลดลงตาม นี่คือหลักการของดุลยภาพที่เกิดขึ้นโดย อุปสงค์ และ อุปทาน ที่ผมกำลังจะอธิบายให้ท่านเข้าใจมากขึ้นในบทความนี้

    อุปสงค์ (Demand)

         อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่างๆ ในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ โดยที่มี ความต้องการที่จะซื้อ (Willing to buy) และความสามารถในการจ่ายเพื่อซื้อ (Ability to pay) เป็นปัจจัยหลัก

    กฏของอุปสงค์ :: เมื่อปัจจัยด้านอื่นๆคงที่ หากราคาแพงขึ้น จะส่งผลให้ความต้องการซื้อลดลง และหากราคาถูกลง จะส่งผลให้ความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา และ ความต้องการซื้อ มีความผกผันกัน เส้นอุปสงค์จึงมีความชันเป็นลบ

    ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์

    • ราคาของสินค้า :: เมื่อราคาถูกลง ความต้องการสินค้าหรือบริการจะเพิ่มขึ้น
    • รายได้ของผู้บริโภค :: เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องการบริโภคมากขึ้น หรือบริโภคสินที่มีคุณภาพมากขึ้น
    • ราคาของสินค้าอื่นๆ :: หากเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันมีราคาถูกลงคนจะหันไปใช้สินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้เพิ่มขึ้น (เช่น ราคาหมูและไก่) แต่หากสินค้าที่ใช้ประกอบกันมีราคาถูกลงคนจะหันมาใช้สินค้านี้มากขึ้น (เช่น ราคารถและน้ำมัน)
    • รสนิยมของผู้บริโภค :: เมื่อรสนิยมในการบริโภคเปลี่ยนไป จะส่งผลกระทบกับความต้องการของผู้บริโภค
    • การคาดการณ์รายได้ในอนาคต :: เมื่อคาดว่าจะมีรายได้ในอนาคตมากขึ้น จะส่งผลให้มีการบริโภคในปัจจุบันเพิ่มขึ้น
    • ปัจจัยอื่นๆ เช่น นโยบายรัฐบาล ฤดูกาล จำนวนประชากร ฯลฯ

    อุปทาน (Supply)

         อุปทาน (Supply) หมายถึง ความต้องการขายสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่างๆ ในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ โดยที่มี ความต้องการที่จะขาย (Willing to sell) และความสามารถในการผลิต (Ability to produce) เป็นปัจจัยหลัก

    กฏของอุปสงค์ :: เมื่อปัจจัยด้านอื่นๆคงที่ หากราคาแพงขึ้น จะส่งผลให้ความต้องการขายเพิ่มขึ้น และหากราคาถูกลง จะส่งผลให้ความต้องการขายลดลง สรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา และ ความต้องการขาย มีความแปรผันกัน เส้นอุปสงค์จึงมีความชันเป็นบวก

    ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน

    • ราคาของสินค้า :: เมื่อราคาถูกลง ความต้องการขายสินค้าหรือบริการจะลดลง
    • ราคาของต้นทุนการผลิต :: เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จะส่งผลให้ความต้องการผลิตลดลง เนื่องจากกำไรลดลง
    • ราคาของสินค้าอื่น :: เมื่อราคาสินค้าอื่นแพงขึ้น จะเป็นแรงจูงใจให้เปลี่ยนไปผลิตหรือขายสินค้าอื่นมากขึ้น
    • เทคโนโลยีในการผลิต :: เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มลงลด(ได้กำไรมากขึ้น) จึงเป็นแรงจูงใจในการผลิตหรือขายมากขึ้น
    • การคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคต :: หากคาดว่าเศรษฐกิจจะมีการขยายตัว จะส่งผลให้เพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับคามต้องการสินค้าหรือบริการในอนาคตมากขึ้น
    • ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฤดูกาล ภาษีและเงินอุดหนุน โครงสร้างตลาด ความสามารถในการเข้าถึงธุรกิจ ฯลฯ

    อย่ากลัวที่จะล้มเหลว
    จงกลัวที่ไม่ได้เริ่มต้น

    คุณสามารถโทรสอบถามได้ที่
    084-660-7812 / Line : Nuwee.L
    หรือ กรอกแบบฟอร์ม ด้านล่าง
    เราจะรีบติดต่อกลับ ภายใน 24 ชั่วโมง

    Related articles:

    การค้าระหว่างประเทศ

    ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ปกป้องกันการค้าระหว่างประเทศ (Protectionism) หนาหูขึ้น โดยปกติการป้องกันทางการค้าจะมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตภายในประเทศ

    ปริมาณเงิน (Money Supply)

    แม้ธนาคารกลางจะมีการพูดถึงปริมาณเงินในระบบไม่บ่อยนัก แต่การทำความรู้จักกับชื่อเรียกปริมาณเงินในนิยามต่างๆ จะทำให้เราทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเงินในระบบอย่างเข้าใจ

    What How For Whom

    การตัดสินใจว่า เราควรจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เป็นเรื่องของการจัดสรรทรพัยากรการผลิตที่มีอยู่จำกัด เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด อย่างมีประสิทธิภาพ

    ต้นทุนคงที่ และ ต้นทุนผันแปร

    ต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งแทบทุกๆธุรกิจต้องเผชิญและยากที่จะหลีกเลี่ยง ต้นทุนสามารถจำแนกหลักๆได้ 2 ประเภทคือ ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Available Cost)

    พฤติกรรมที่มีเหตุผล (Rational Behavior)

    การเลือกคู่ครองเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการยกกรณีศึกษา โดยกรณีนี้จะแตกต่างจากการพิจารณาเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากทั้งคู่ต้องเลือกกันด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงจะมีปัจจัยทั้งหมดของทั้ง 2 คน เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ

    ผลผลิตทางการเกษตร

    ระบบการตลาดสินค้าเกษตรมีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จึงส่งผลให้การผลิตเปลี่ยนตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีสินค้าบางชนิดซึ่งต้องการรูปแบบการตลาดเฉพาะ เช่น สินค้ามีการเน่าเสียง่าย

    Latest courses:

    การเลือกโบรกเกอร์ในการลงทุน

    โบรคเกอร์แต่ละโบรคเกอร์ มักมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เราจึงต้องเลือกลงทุนในโบรคเกอร์ที่เอื้อต่อพฤติกรรมการลงทุนของเราให้มากที่สุด

    การวางกลยุทธซื้อขาย

    การวางกลยทุธเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะเริ่มซื้อขายจริง การวางกลยุทธในการซื้อขาย จะเริ่มตั้งแต่การเลือกประเภทของสินทรัพย์ที่จะลงทุน ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นไว้ด้วย

    การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

    น่าเสียดายมาก หากคัดเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุนได้อย่างเหมาะสม แต่เข้าไม่ถูกจังหวะ ทำให้ได้ของในราคาแพงกว่าที่ควร ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อคุณศึกษา"หลักสูตรการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค"

    การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

    ก่อนที่จะเริ่มลงทุน จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลต่างๆในธุรกิจนั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มลงทุน เพื่อลดความเสียงในการขาดทุน และเพิ่มโอกาสในการทำกำไร