ต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งแทบทุกๆธุรกิจต้องเผชิญและยากที่จะหลีกเลี่ยง ต้นทุนสามารถจำแนกหลักๆได้ 2 ประเภทคือ ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Available Cost)

  • ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เป็นต้นทุนในส่วนที่ไม่ว่าจะลดหรือหยุดการผลิตสินค้า ก็ไม่ส่งผลให้ต้นทุนในส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ลดลง เช่น ค่าของเครื่องจักรที่ซื้อมา ค่าเสื่อมราคา ค่าบริหารงานในองค์กร เป็นต้น
  • ต้นทุนผันแปร (Available Cost) เป็นต้นทุนที่แปรผันไปตามจำนวนมากผลิตสินค้า หากผลิตมากยิ่งมีต้นทุนผันแปรสูง ส่วนมากจะเป็นต้นทุนที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า โดยเฉพาะค่าวัตถุดิบ และ ค่าแรงในส่วนของการผลิต

ควรมีสัดส่วนต้นทุนประเภทไหนมากกว่า

  • บริษัทที่มีต้นทุนคงที่สูง มักจะเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ หรือ ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต มักมีจากการลงทุนในเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่งผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) คือมีต้นทุนผันแปรลดลง
  • บริษัทที่มีต้นทุนแปรผันสูง มักจะเป็นบริษัทที่มีขนาดเล็ก (โดยเฉพาะธุรกิจ SME) การผลิตมักจะเน้นไปในส่วนของการใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร หากต้องการผลิตมากขึ้นก็เพียงหาแรงงาน (Labor) หรือ วัตถุดิบ (Raw Material) ที่ใช้ผลิตเพิ่ม ส่งผลให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่น (Flexible) ในการดำเนินกิจการ

     แต่ละอุตสาหกรรมจะมีสัดส่วนของ ต้นทุนคงที่ และ ต้นทุนแปรผัน ที่แตกต่างกัน รวมทั้งขนาดหรือเงินทุนของแต่ละบริษัท ก็ส่งผลต่อสัดส่วนดังกล่าว อย่างไรก็ตามแม้ว่าบริษัทจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน รวมถึงต้นทุนจ่ายค่าแรงที่เท่ากันด้วย ก็ยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น คุณภาพของสินค้า (Quality) และ การทำการตลาด (Marketting) ประกอบด้วย จึงไม่สามารถฟันธงได้อย่างแน่ชัดว่าบริษัทที่มีต้นทุนคงที่สูงกว่า จะได้เปรียบในการแข่งขันเสมอไป