ความเสี่ยงในการลงทุน (Investment Risk) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการลงทุน เมื่อต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น ก็ต้องชดเชยด้วยการรับความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นกัน (High Risk High Expected Return)

     ความเสี่ยง จึงเป็น ตัวแปร หรือ ปัจจัย ที่อาจเข้ามากระทบ ซึ่งส่งผลให้ผลตอบแทนที่ได้ในการลงทุนจริง คลาดเคลื่อนไปจากที่คาดหวัง โดยที่ความเสี่ยงในการลงทุนนั้น อาจส่งผลในเชิงลบ หรือเชิงบวกก็ได้เช่นกัน

     นักลงทุนทุกคนจึงต้องเรียนรู้ว่า จะต้องเจอกับความเสี่ยงประเภทใดบ้างในการลงทุน เพื่อที่จะสามารถเตรียมตัวรับมือ รวมทั้งบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในการลงทุนใกล้เคียงกับที่คาดหวังหรือมากกว่า ตามเงื่อนไขของนักลงทุนแต่ละคน

ความเสี่ยงในการลงทุน จำแนกออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  • ความเสี่ยงจากตัวบุคคล (Personal Risk) เป็นความเสี่ยงเฉพาะตัวที่เกิดจากผู้ลงทุนเอง ประกอบด้วยความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
    • ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น (Relationship Risk)
    • ความเสี่ยงด้านหนี้สิน (Liability Risk)
    • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk)
    • ความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน (Property or Asset Risk)
    • ความเสี่ยงด้านการเงินหรือการลงทุน (Financial / Investment Risk)
    • ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health Risk)
    • ความเสี่ยงด้านอาชีพการงาน (Employment Risk)
    • ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม (Environmental Risk)
  • ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมีผลกระทบกับทั้งตลาดในทิศทางความสัมพันธ์เดียวกัน ประกอบด้วยความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
    • ความเสี่ยงเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ (Market risk) คือ ความเสี่ยงที่จะสุญเสียเงินลงทุน จากการเปลี่ยนแปลง Demand และ Supply ของตลาดโดยรวม ซึ่งจะส่งผลต่อราคาไปในทิศทางเดียวกัน
    • ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงจากการลงทุน (Risk free change)
    • ความเสี่ยงในอำนาจซื้อหรือภาวะเงินเฟ้อ (Purchasing power risk or Inflation Risk)คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอำนาจซื้อ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากอัตราภาวะเงินเฟ้อ หรือ เงินฝืด
  • ความเสี่ยงที่ไม่เป็นเชิงระบบ (Unsystematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจการหนึ่ง หรือ อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วจะมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของธุรกิจนั้น ไม่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์อื่นในตลาด ประกอบด้วยความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
    • ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) หมายถึง โอกาสที่ผู้ลงทุนจะเสียรายได้และเงินลงทุน หากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ไม่มีเงินชำระหนี้อาจทำให้บริษัทถึงกับล้มละลาย
    • ความเสี่ยงทางการบริหาร (Management Risk) เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการบริหารงานของผู้บริหาร เช่น ความผิดพลาดของผู้บริหาร และการธุรกิจของผู้บริหาร
    • ความเสี่ยงทางอุตสาหกรรม (Industry Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากแรงผลักดันบางอย่าง ที่ทำให้ผลตอบแทนของธุรกิจทุกแห่งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือบางอุตสาหกรรมถูกกระทบกระเทือน