พฤติกรรมที่มีเหตุผล (Rational Behavior) หมายถึง กระบวนการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของการตัดสินใจที่ส่งผลให้ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด (Max Utility) ของแต่ละบุคคล สมมติฐานของพฤติกรรมที่มีเหตุผลจะส่งผลให้ผู้ลงทุนมีการพัฒนาขึ้น ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ทุกๆการกระทำของทุกๆคน ไม่ว่าในกิจกรรมใดๆก็ตามล้วนเป็นการกระทำที่มีเหตุมีผลเสมอ

พื้นฐานของพฤติกรรมที่มีเหตุผล (The Basics of Rational Behavior)

     มีการตัดสินใจหลายหลายรูปแบบมากซึ่งยังถือว่ามีเหตุผลอยู่ ตราบเท่าที่สามารถอธิบายเหตุผลดีๆได้ แต่แรงจูงใจหลักๆมักจะเกิดจาก ผลประโยชน์ (Benefit) หรือความพอใจทางด้านจิตใจ (Happy) เป็นสาเหตุหลัก

     พฤติกรรมซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานสำคัญของทฤษฎี Rational Choice Theory (RCT) ซึ่งเป็นหลักการทางเศรษฐศาสตร์ที่สันนิษฐานว่า… ประชาชนมักจะตัดสินใจอย่างรอบคอบและมีเหตุผลซึ่งจะทำให้พวกเขาได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด (Max Utility) จากทางเลือกที่มีอยู่และมีความสนใจสูงสุดด้วยตัวของผู้เลือกเอง อาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีทางเลือกที่มีเหตุผล (Rational) เสมอ

พฤติกรรมที่มีเหตุผลเฉพาะรายบุคคล (Individualized Rational Behavior)

     พฤติกรรมที่มีเหตุผลไม่จำเป็นต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุดเสมอไป ผลประโยชน์ที่เหมาะสมที่สุด หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน และการประเมินความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคลประกอบด้วย เช่น

  • ในกรณีที่ยังทำงานอยู่จะได้รับเงินเดือนมากกว่าในช่วงหลังเกษียณ นั่นหมายถึงโอกาสที่มั่นคงซึ่งยังได้รับรายได้ที่สม่ำเสมอ แต่เมื่อใดก็ตามที่ชั่งน้ำหนักแล้วพบว่าชีวิตหลังเกษียณของเราเป็นทางเลือกที่มีเหตุผลที่ดีมากกว่ายังคงทำงานต่อไป เขาจะตัดสินใจลากออกทัน
  • นอกจากนี้การพิจารณาความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของชีวิตของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน จึงควรพิจารณาปัจจัยเรื่องความเสี่ยงและความเป็นไปได้ประกอบด้วย

พฤติกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ (Behavioral Economics)

     ในขณะที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะมีข้อสันนิษฐานว่า… พฤติกรรมที่มีเหตุผลคือการตัดสินใจของคน“ ปกติ” ซึ่งมีเหตุผลซึ่งพอจะอธิบายได้

     สำหรับผู้ที่มีเหตุผลที่ดีเลิศ มักจะมีแนวโน้มว่าจะสามารถเลือกทางเลือกได้ดีกว่า ซึ่งอาจมีเหตุผลและปัจจัยอื่นๆรวมด้วยเช่น ประสบการณ์ หรือ ความรู้ในเรื่องนั้นๆ โดยการพิจารณาอาจรวมถึงการตัดสินใจโดยหารพิจารณาทางด้านอารมณ์ความรู้สึกร่วมด้วย

Rational-Behavior-Weddings

     การเลือกคู่ครองเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการยกกรณีศึกษา โดยกรณีนี้จะแตกต่างจากการพิจารณาเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากทั้งคู่ต้องเลือกกันด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงจะมีปัจจัยทั้งหมดของทั้ง 2 คน เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ อาจจะมีเหตุผลในหลายๆรูปแบบปะปนกันในกระบวนความคิด ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางด้านฐานะทางการศึกษา อาชีพ ฐานะทางการเงิน ซึ่งรวมถึงอนาคตด้วย นอกจากนั้นยังมีเหตุผลทางด้านอารมณ์ เช่น ความรัก (Love) หรือ ความพอใจ (Satisfaction) เข้ามาเกี่ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายได้ จึงกล่าวได้ว่าการตัดสินใจจะเกิดจากตัวผู้เลือก โดยที่ผู้เลือกพอใจในทางเลือกใดที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า ทุกๆการกระทำของทุกๆคน ไม่ว่าในกิจกรรมใดๆก็ตามล้วนเป็นการกระทำที่มีเหตุมีผล