Relative Strength Index หรือที่มักเรียกกันว่าเส้น RSI ถูกคิดค้นโดย J. Welle Wilder ซึ่งเป็นผู้คิดค้น indicators อื่นๆอีกหลายตัว ซึ่งเส้น RSI เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางเทคนนิคที่เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มของราคาได้เช่นเดียวกับ Moving Average Convergence (MACD) และ Stochastic

     เส้น RSI จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเส้น Overbought และ Oversold เพื่อดูปริมาณซื้อ-ขายประกอบ  โดยปกติ RSI ที่นำมาใช้คำนวนจะนิยมใช้ RSI 14

     การหาค่าของเส้น RSI จำเป็นต้องหาค่า Relative Strength(RS) ก่อน จึงจะนำมาหาค่า RSI ต่อไป
RS
 = ราคาปิดบวกเฉลี่ย x วัน / ราคาปิดลบเฉลี่ย x วัน
RSI = 100 – 100 / (1+RS)

     เส้น Overbought(OB) และ Oversold(OS) คือระดับที่ถูกกำหนดขึ้นแล้วตีเส้นลงไปในกราฟของ RSI เพื่อใช้วิเคราะห์ควบคู่กับส้น   RSI ซึ่งแต่ละคนอาจจะเลือกใช้ระดับที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะนิยมใช้กันที่ระดับ [OB:70 และ OS:30] และควรตีเส้นที่ระดับ 50 ไว้ด้วยเพื่อใช้เสริมในการวิเคราะห์แนวโน้ม

วิธีการใช้เส้น RSI – OB – OS

  1. เส้น RSI ผ่านระดับ 50 จะเป็นสัญญาณบอกว่าแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยน
  2. เส้น RSI แตะระดับ 70 ซึ่งเป็นระดับของเส้น OB เป็นสัญญาณว่ามีการซื้อมากเกินไป ผู้ลงทุนควรเริ่มเตรียมหาจังหวะขาย
  3. เส้น RSI แตะระดับ 30 ซึ่งเป็นระดับของเส้น OS เป็นสัญญาณว่ามีการขายมากเกินไป ผู้ลงทุนควรเริ่มหาจังหวะซื้อ
  4. เส้น RSI ทำจุดสูงสุดใหม่ (ทั้งๆที่ RSI เคยเป็นแนวโน้มลง) หรือต่ำสุดใหม่ (ทั้งๆที่ RSI เคยเป็นแนวโน้มขึ้น) หรือไม่ ถ้าใช่นั่นอาจจะเป็นสัญญาณกลับตัว
  5. เกิดสัญญาณ Divergence ขึ้นหรือไม่
  6. ควรใช้วิเคราห์คู่กับ ระดับแนวรับ-แนวต้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น