
แนวรับ (Support) – แนวต้าน (Resistance) คือจุดที่ควรเข้าซื้อหรือขาย ซึ่งนักลงทุนที่มีประสบการณ์มักจะพิจารณาทุกครั้งก่อนทำการเข้าซื้อและขาย ในการหาแนวรับ-แนวต้านนั้น มีด้วยกันมากมายหลายวิธี แต่บทความนี้จะเน้นหลักๆเพียงแค่การใช้เส้นแนวนอน (Horizontal Line), เส้นแนวโน้ม (Trend Line) และ เส้นค่าเฉลี่ย (MA) เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มเข้าใจก่อนว่าแนวรับ-แนวต้านนั้นจริงๆแล้วคืออะไร
- แนวรับ (Support) คือจุดที่ราคาเคยลงมาแล้วมีการกลับตัวขึ้นหลายๆครั้งอย่างมีนัยยะสำคัญ
- แนวต้าน (Resistance) คือจุดที่ราคาเคยขึ้นไปแล้วมีการกลับตัวลงหลายๆครั้งอย่างมีนัยยะสำคัญ
หมายเหตุ : หากราคายังไม่ประวัติย้อนหลังเพียงพอ จะไม่สามารถหาแนวรับแนวต้านจากวิธีนี้ได้
เส้นแนวนอน เส้นแนวโนม และเส้นค่าเฉลี่ย
- เส้นแนวนอน (Horizontal Line) ค่อนข้างจะดูง่ายและนักลงทุนส่วนใหญ่ มักจะดูแนวรับ-แนวต้านจากเส้นแนวนอนนี้ไม่ต่างกันนัก เนื่องจากเป็นการดูแนวรับ-แนวต้านจากสุดต่ำสุด(Low)และจุดสูงสุด(High)ที่เคยเกิดขึ้น ยิ่งเป็นระดับที่ราคาเคยพักตัวบ่อยๆ(เป็นแนวรับแนวต้านที่สำคัญ) รวมทั้งถ้าเป็นจุด Low หรือ High ที่ผ่านมาไม่นาน ก็จะทำให้ระดับราคาดังกล่าวเป็นแนวรับ-แนวต้านที่แข็งแกร่งมากขึ้น
- เส้นแนวโน้ม (Trend Line) จะต้องอาศัยประสบการณ์ในการตีเส้นก่อนที่จะวิเคราะห์แนวรับ-แนวต้านจากเส้นแนวโน้มที่ตีอีกที ซึ่งต่างจากเส้นแนวนอนที่เมื่อตีเส้นแล้วสามารถดูแนวรับ-แนวต้านได้เลย โดยเส้นแนวโน้มจะเริ่มจากหาตีกรอบบน (จาก Highก่อน ต่อ Highใหม่) และกรอบล่าง (จาก Lowก่อน ต่อด้วย Lowใหม่) จะทำให้เราได้กรอบเส้นแนวโน้มทั้งแนวต้านจากการตีกรอบบน และแนวรับจากการตีกรอบล่าง
- เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) เป็นการดูแนวรับ-แนวต้านจากเส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลังใน Period ต่างๆ ยิ่งมี Peroid ยาวเท่าไหร่ก็จะเป็นแนวรับ-แนวต้านที่แข็งแกร่งเท่านั้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เส้นค่าเฉลี่ยที่คนมองข้าม Moving Average
จริงๆแล้วเรายังสามารถหาแนวรับแนวต้านได้จากสิ่งอื่นอีกมากมาย เช่น Fibonacci, Volume, รวมทั้งแนวรับแนวต้านทางจิตวิทยาด้วย ซึ่งสามารถติดตามได้ในบทความถัดไป